วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 13-17 ธันวาคม 2553


ตอบ 4
อธิบาย หมู่เลือดของพ่อ-แม่-ลูก
1. พ่อ A + แม่ A = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, O
2. พ่อ B + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด B, O
3. พ่อ AB + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
4. พ่อ O + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด O เท่านั้น
5. พ่อ A + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B, AB, O
6. พ่อ A + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
7. พ่อ B + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
8. พ่อ AB + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B
9. พ่อ A + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, O
10. พ่อ B + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด B, O
11. พ่อ A + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B, AB, O
ที่มา health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=111




ตอบ 2
อธิบาย การตัดต่อทางพันธุกรรมหรือการดัดแปรพันธุกรรมนั้นทำ อย่างไร มีการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่

การดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต คือ การนำสารพันธุกรรม (หรือที่เรียกว่า ยีน) ที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรม

วิธีการถ่ายยีน มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ว่าเราจะถ่ายยีนเข้าสู่สิ่งมีชีวิตชนิดใด พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หลักสำคัญของการถ่ายยีนก็คือ

- ยีนที่จะถ่ายเข้าไปนั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารใด ปนเปื้อน เพราะสิ่งสกปรกจะลดประสิทธิภาพของการถ่ายยีน
- วิธีที่ใช้ถ่ายยีน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระแสไฟฟ้า หรือสารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย หรือการยิงกระสุนทองคำเคลือบชิ้นยีน โดยใช้แรงดันลมจากก๊าซเฉื่อย หรือการใช้แบคทีเรียชื่อ อะโกรแบคทีเรีย” (ซึ่ง 2 วิธี หลังนี้ใช้สำหรับการถ่ายยีนเข้าพืชเท่านั้น) วิธีต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะต้องมีประสิทธิภาพดีในการนำพาชิ้นยีนเข้าสู่เซลล์แล้ว ยังต้องไม่ทำอันตรายต่อเซลล์ เพราะมิฉะนั้นแล้วเซลล์ที่ได้รับการถ่ายยีนจะไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นสิ่งมี ชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่สมบูรณ์ได้

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในขั้นตอนของการดัดแปรพันธุกรรมนั้น ย่อมมีสารเคมีหรือสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านั้นจะถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนการทำความสะอาดชิ้นยีนก่อนการถ่าย ยีน ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายยีนนั้น เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต

ตอบ 2
อธิบาย ศึกษาการ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

การ ศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของคน ทำได้โดยการสืบประวัติครอบครัวซึ่งมีลักษณะที่ต้องการศึกษาหลายๆชั่วอายุคน ดังที่นักเรียนทำในกิจกรรม 4.1 จากนั้นนำมาเขียนแผน ผังแสดงบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะที่ศึกษาเรียกแผนผังดังกล่าวว่า เพ ดดิกรี(pedigree)โดย ใช้สัญลักษณ์แทนบุคคลต่างๆทั้งผู้ที่แสดงและไม่แสดงลักษณะที่กำลังศึกษา หากลักษณะใดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพดดิกรีจะช่วยให้สังเกตเห็นแบบแผนการถ่ายทอดได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยให้บอกได้ว่าลักษณะนั้นๆ เป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อย เป็นลักษณะพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศใดเพศหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่ นักเรียนจะได้ศึกษาตัวอย่างเพดดิกรีของลักษณะทางพันธุกรรม ต่างๆ ต่อไป
ที่มา http://km.vcharkarn.com/other/mo6/56-2010-07-14-09-20-24


ตอบ 1
อธิบาย ไบรโอไฟต์ มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดย เฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง


ตอบ 1
อธิบาย ไวรัสไข้หวัดนก ที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่ง เป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะ ใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีน เมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวม ทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย
ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัด ใหญ่ ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมี ตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิ วรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัด ใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1
ที่มา http://bhumibol.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C_H5N1

กิจกรรมวันที่ 24-28 มกราคม 2554








ตอบ 3 ค และ ง


การกำจัดขยะพลาสติกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำไปฝัง (Burial) หรือนำไปถมดิน (Landfill) การนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง (Incineration) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อย่างไรก็ตาม การนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่โดยทั่วไปแล้วถูกพิจารณาว่า เป็นทางเลือกที่ให้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดทางหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งทาง บริษัท พลาสท์โปร จำกัด ขอเป็นส่วนร่วมอีกทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก เพื่อช่วยให้ประเทศไทยน่าอยู่ มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และเก็บไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบต่อไป



ที่มาของข้อมูล : http://www.lg-plus.com/plastpro/index_plastpro.html



ตอบ 1 ก ค และ ฉ


น้ำ ค้างเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำบนพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งมีการแผ่รังสีออกจนกระทั่งอุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดน้ำค้างของอากาศซึ่ง อยู่รอบๆ เนื่องจากพื้นผิวแต่ละชนิดมีการแผ่รังสีที่แตกต่างกัน ดังนั้นในบริเวณเดียวกัน ปริมาณของน้ำค้างที่ปกคลุมพื้นผิวแต่ละชนิดจึงไม่เท่ากัน


ที่ มาของข้อมูล : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2f917348623faa72&pli=1






ตอบ 4 การเปลี่ยขนาดภาชนะที่บรรจุสารละลายที่ทำปฏิกิริยา


การเกิดปฏิกิริยาเคมี
ถ้า นักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี ... มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม... เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้น

ปฏิริยาเคมีคืออะไร
ปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสารแล้วส่งผลให้ได้สารใหม่ที่มีคุณสมบัติ เปลี่ยนไปจากเดิม โดยในการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะต้องเกิดจากสารตั้งต้น (reactant) ทำปฏิกิริยากัน แล้วเกิดเป็นสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)

ปฏิกิริยาเคมีแบ่งออกได้ 5 ชนิด ได้แก่ 1. ปฏิกิริยาการรวมตัว A +Z -------> AZ

2.
ปฏิกิริยา การสลายตัว
AZ -------> A +Z

3.
ปฏิกิริยา การแทนที่เชิงเดี่ยว
A + BZ -------> AZ + B

4.
ปฏิกิริยา การแทนที่เชิงคู่
AX+BZ -------> AZ + BX

5.
ปฏิกิริยา สะเทิน HX+BOH -------> BX + HOH

สังเกตได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเราสามารสังเกตได้ ว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นโดยสังเกตสิ่งต่อไปนี้
มีฟองแก๊ส
มีตะกอน
สีของสารเปลี่ยนไป
อุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ที่ มาของข้อมูล : http://www.tps.ac.th/~narin/basicchem/index_files/page0013.htm






ตอบ 2 0.25 / 0.18
พลังงาน กับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารใหม่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องมีพลังงานเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง มักจะให้พลังงานความร้อน พลังงานแสง หรือพลังงานชนิดอื่นเป็นผลพลอยได้ การเผาผลาญอาหารในร่างกายของเรา ก็มีพลังงานเกิดขึ้น เราจึงสามารถนำพลังงานจากการเผาผลาญอาหารมาใช้ในการดำรงชีวิต เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิด ปฏิกิริยาเคมี มี 2 ประเภท คือ
1. ปฏิกิริยาคายความร้อน (
exothermic reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อน ออกมา แก่สิ่งแวดล้อม เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาผลาญอาหารในร่างกาย เป็นต้น
2. ปฏิกิริยาดูดความร้อน (
endothermic reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้ว ดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าไป ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน

ปฏิกิริยา การเผาไหม้
C + O2 ------> CO2
ปฏิกิริยาการสันดาปในแก๊สหุง ต้ม 2C4H10 + 13O2 ------> 8CO2 + 10H2Oปฏิกิริยาการเกิดฝน กรด SO3 + H2 O ------> H2SO4 ปฏิกิริยาการเกิดสนิม เหล็ก 4Fe + 3O2 ------> 2Fe2O3 . H2O
ที่ มาของข้อมูล : http://www.tps.ac.th/~narin/basicchem/index_files/page0013.htm






ตอบ 4 ก และ ง


  • หมู่ ที่1A ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม รูบิเดียม ซีเซียม แฟรนเซียม
  • หมู่ ที่2A เบริลเลียม แมกนีเซียม แคลเซียม สตรอนเทียม แบเรียม เรเดียม
  • หมู่ ที่3A โบรอน อะลูมิเนียม
  • หมู่ ที่4A คาร์บอน ซิลิกอน เจอร์เมเนียม
  • หมู่ ที่5A ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส อะซินิค(สารหนู)
  • หมู่ ที่6A ออกซิเจน ซัลเฟอร์(กำมะถัน) ซีลีเนียม เทลลูเรียม
  • หมู่ ที่7A ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน แอสทาทีน
  • หมู่ ที่8A ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปตอน ซีนอน เรดอน
ยกเว้น ไฮโดรเจน เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่ 1 หรือ 7 ดี เพราะคุณสมบัติเป็นกึ่งๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน โดยทั่วไป ไม่แนะนำให้จำ แต่อาศัยดูตารางเอา แต่ควรจำคุณสมบัติของธาตุที่ออกสอบบ่อยๆ ให้ได้ ควรจะใช้หลักการในการท่องให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ตัวย่อของแต่ละคำมารวมกันเป็นประโยคที่จำง่ายๆ ซึ่งจะทำให้เราจำได้ไวขึ้น


ที่มาของข้อมูล : http://itshee.com/pages/periodictable.html









ตอบ 1 Na+




อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับพลังงานของ อิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K <>


ที่มาของข้อมูล : http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/atommodel100.html






ตอบ 3 A กับ Y


ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็น สสารอื่นได้อนุภาคที่ เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่ง วนรอบนิวเคลียสที่ ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของ ธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่ เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของ ธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี




ตอบ 2 2 8 8 / 2 8




ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e- ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e- ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว
เขียนเป็น s2 p6 d10 f14


ที่มาของข้อมูล : http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/atommodel100.html






ตอบ 1 AB AC BC
2 2
  • คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คือ H , He
  • คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Li ถึง Ne
  • คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Na ถึง Ar
  • คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ K ถึง Kr
  • คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Rb ถึง Xe
  • คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Cs ถึง Rn
  • คาบที่ 7 มี 19 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Fr ถึง Ha
รวมทั้งหมด 105 ธาตุ เป็นก๊าซ 11 ธาตุ คือ H , N , O , F , Cl , He , Ne , Ar , Kr , Xe และ Rn เป็นของเหลว 5 ธาตุ คือ Cs , Fr , Hg , Ga และ Br ที่เหลือเป็นของแข็ง







ตอบ 3 รังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 สามารถทำลายแบกทีเรีย จึงใช้ในการถนอมอาหาร


ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี 1. ด้านธรณีวิทยา การ ใช้คาร์บอน-14 (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ
2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง
3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ และใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบน อัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
6. ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตา ปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า


ที่ มาของข้อมูล : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_10.html

กิจกรรม 17-21 มกราคม 2554

ตอบ .2 การเกิดหินงอกหินย้อย การเผากระดาษ

ปฏิกิริยา เคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ใน ขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้น



ตอบ 4. ก ข ค และ ง

ประเภทของปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมีจำแนกได้ 3 ประเภทดังนี้
1. ปฏิกิริยาการรวมตัว (combination) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการรวมตัวของสารโมเลกุลเล็กรวมกันเป็นสารโมเลกุล ใหญ่ หรือเกิดจากการรวมตัวของธาตุซึ่งจะได้สารประกอบ
2. ปฏิกิริยาการแยกสลาย (decomposition) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการแยกสลายของสารโมเลกุลใหญ่ให้ได้สารโมเลกุลเล็กลง 3. ปฏิกิริยาการแทนที่ (replacement) เป็นปฏิกิริยาการแทนที่ของสารหนึ่งเข้าไปแทนที่อีกสารหนึ่ง

ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2422210100/23.htm

ตอบ 4. มีกรดกำมะถันและกรดไนตริกปนอยู่

กรด กำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (อังกฤษ: sulfuric acid หรือ อังกฤษบริติช: sulphuric acid) , H2SO 4, เป็น กรด แร่ (mineral acid) อย่างแรง ละลายได้ในน้ำที่ทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี ค.ศ. 2001 ทั่วโลกผลิตรวมกันประมาณ 165 ล้านตัน ซึ่งมูลค่าประมาณ 320,000 ล้านบาท (8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประโยชน์ของกรดกำมะถันได้แก่ ใช้ในการผลิตปุ๋ย กระบวนการผลิตแร่ การสังเคราะห์เคมี การกำจัดน้ำเสีย ใช้เป็นสารละลายอิเล็กทรอไลต์ในแบตเตอรี่และ กระบวนการกลั่นน้ำมัน กรดกำมะถันมีชื่อเดิมคือ "Zayt al-Zaj" หรือ "ออยล์ออฟวิตริออล" (oil of vitriol)
กรดไนตริก หรือ กรดดิน ประสิว (อังกฤษ: Nitric acid) เป็นกรดที่มีอันตราย หากสัมผัสจะทำให้เกิดแผลไหม้ขั้นรุนแรง กรดไนตริกนี้ ค้นพบโดยการสังเคราะห์ โดย "Muslim alchemist Jabir ibn Hayyan" ประมาณ ค.ศ. 800 กรดไนตริกบริสุทธ์ 100% (ปราศจากน้ำ) จะเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่น 1,552 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และจะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ -42 °C ลูกบาศก์ โดยจะเป็นผลึกสีขาว และจะเดือดที่อุณหภูมิ 83 °C แต่ก็สามารถเดือดในที่ ที่มีแสงสว่าง ทั้ง ๆ ที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง[1]
สารประกอบ เคมีในกรดไนตริก (HNO3) , หรือ อควา ฟอร์ติส (aqua fortis) หรือ สปิริต ออฟ ไนเตอร์ (spirit of nitre) เป็นของเหลวที่ กัดกร่อนและไม่มีสี เป็นกรดที่มีพิษที่ สามารถทำให้เกิดแผลไฟไหม้อย่างรุนแรง สารละลายที่มีกรดไนตริกมากกว่า 86% เรียกว่า fuming nitric acidและสามารถกัดกร่อนโลหะมีตะกูลได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ขาว (white fuming nitric acid) และแดง (red fuming nitric acid)

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%99

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81
ตอบ 1. ก และ ข

อนุภาคมูลฐานของอะตอม ประกอบด้วย
  1. อิเล็กตรอน Electron (e) ค้นพบโดย ทอมสัน
  2. โปรตอน Proton (p) ค้นพบโดย โกลด์ชไตน
  3. นิวตรอน Neutron (n) ค้นพบโดย แชดวิก
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/phuangphet_k/atommic/sec02p02.html
ตอบ 2. 2,8,8,1

อิเล็กตรอน (อังกฤษ: Electron) เป็นอนุภาคที่ มีประจุไฟฟ้าเป็น ลบวิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสตาม ระดับพลังงานของอะตอมนั้นๆ โดยส่วนมากของอะตอม จำนวน อิเล็กตรอน ในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีเท่ากับจำนวน โปรตอน เช่น ไฮโดรเจนมี โปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว ฮีเลียมมี โปรตอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว
อิเล็กตรอนนั้นจัดได้ว่าเป็น อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง อิเลคตรอนอยู่ในตระกูลเลปตอน (lepton) ที่เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเท่า กับ 1.60217646 * 10 − 19 คูลอมบ์ อิเล็กตรอนมีค่าสปิน s = 1/2 ทำให้เป็นเฟอร์ มิออนชนิดหนึ่ง อิเล็กตรอนเป็นปฏิ อนุภาค (anti-matter) ของโพซิตรอน

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99
ตอบ 3. จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่สองของธาตุ A B และ C เท่ากัน



ตอบ 3. B อยู่เป็นอะตอมเดียวอย่างอิสระได้

อะตอม (กรีก: άτομον; อังกฤษ: Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่ หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มเมฆของอิเล็กตรอนประจุลบ นิวเคลียส ของอะตอมประกอบด้วยส่วนประสมระหว่างโปรตอนที่ มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่ง เป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิ วไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่ เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมหนึ่งๆ ที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่าๆ กันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวกหรือลบก็ได้ เรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็น ตัวบ่งบอกคุณสมบัติทางเคมี และจำนวน นิวตรอนบ่งบอกความเป็นไอโซโทป[1]


ตอบ 2. X เป็นธาตุในหมู่ 2A

ธาตุ อาจหมายถึง
  • ธาตุเคมี ในทางเคมี ถือเป็นองค์ประกอบของธรรมชาติส่วนที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถแยกลงได้อีก
  • ธาตุหลัก ทั้ง 4 ในทางปรัชญา หรือการแพทย์โบราณ หมายถึง องค์ประกอบของธรรมชาติ ส่วนที่เล็กที่สุด ถือว่ามีอยู่ในทุกสิ่ง ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิต แต่ละแนวคิดจำแนกธาตุไว้ต่างกัน ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น
  • ธาตุ ศัพท์ ในทางภาษาโบราณ ตระกูลอินเดีย-ยุโรป ธาตุ หมายถึง หน่วยเล็กสุดของความหมาย มักประกอบขึ้นเป็นคำกริยา หรือคำชนิดอื่นๆ
  • ธาตุ 6 ในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ช่องว่างในกาย ความรู้อะไรได้
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8
ตอบ 3. O


ธาตุกัมมันตรังสี (อังกฤษ: radioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้
  1. รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
  2. ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
  3. พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพ รังสี
  4. เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902
ด้วยเหตุนี้นี่เอง ทำให้ผู้ค้นพบได้รับรางวัลต่าง ๆ